ในบรรดาแมลงที่ผู้ที่บริโภคนิยมรับประทานมากที่สุดก็คือ หนอนเยื่อไผ่ นี่เอง ซึ่งเราจะรู้จักในชื่อว่า “ หนอนรถด่วน “ ความนิยมในหนอนเยื่อไผ่ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยอย่างเดียว ในประเทศฮ่องกง ไตหวัน และประเทศจีน ซึ่งส่วนมากแล้วเราจะพบหนอนเยื่อไผ่ในภาคเหนือซะเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากหนอนเยื่อไผ่ชอบอากาศเย็น
หนอนเยื่อไผ่ แมลงตัวใหม่ที่น่าจับตามอง
โดยราคาในปี 57 ที่ผ่านมาสำหรับ หนอนเยื่อไผ่ ตกกิโลกรัมละ 1000 บาท หนอนเยื่อไผ่หรือหนอนรถด่วนเป็นหนอนที่มีราคาสูงมากทำให้มีนักวิชาการพยายามที่จะเพาะเลี้ยงหนอนเยื่อไผ่ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการทดลองนำมาเลี้ยงในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีภูมิอากาศที่คล้ายคลึงกับทางภาคเหนือ ผลการทดลองสามารถเพาะเลี้ยงหนอนเยื่อไผ่ได้เป็นผลสำเร็จ
หนอนเยื่อไผ่ราคาตกกิโลกรัมละ 1000 บาทเลยทีเดียว
การเลี้ยงหนอนเยื่อไผ่
นักวิชาการที่ได้พยายามเพาะหนอนเยื่อไผ่จนสำเร็จก็คือ คุณกฤษณา ชายกวด นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กรมป่าไม้ สิ่งที่แรกในการเลี้ยง หนอนเยื่อไผ่ เราต้องรู้จักวงจรชีวิตของหนอนเยื่อไผ่ให้ดีเสียก่อน
วงจรชีวิตของหนอนเยื่อไผ่
วงจรชีวิตของหนอนเยื่อไผ่จะแบ่ง 3 ช่วงด้วยกันคือ
โดยสิ่งที่ยากที่สุดในการเลี้ยงหนอนเยื่อไผ่ก็คือการหาพ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ เนื่องจากเมื่อถึงฤดูในการหาหนอนเยื่อไผ่ ชาวบ้านจะทำการจับหนอนเยื่อไผ่ไปเกือบหมด โดยไม่เหลือให้หนอนเป็นดักแด้และเป็นตัวเต็มวัยในการหาพ่อแม่พันธุ์ ทางคุณกฤษณา จะต้องติดต่อกับชาวบ้านที่หาหนอนเยื่อไผ่ไว้ก่อนและนำหนอนที่จับได้มาเลี้ยงให้เป็นดักแด้จนกลายเป็นตัวเต็มวัยก่อนที่จะนำผีเสื้อมาทำการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ
เราจะพบหนอนเยื่อไผ่ได้ตามต้นไผ่ที่มีขนาดสั้นกว่าปกติ
พันธุ์ต้นไผ่ที่จะพบเจอหนอนเยื่อไผ่ชอบจะเป็นพันธุ์ไผ่ที่พบเจอในเขตพื้นที่ภาคเหนือ แต่ที่ทำการทดลองได้ใช้ต้นไผ่พันธุ์ไผ่ซาง ไผ่หม่าจู และไผ่กิมซุ่ง ซึ่งมีลำไผ่ที่มีขนาดใหญ่ โดยหลังจากได้พ่อแม่พันธุ์ที่เป็นผีเสื้อกลางคืนตัวเต็มวัยแล้ว ก็นำเอาตาข่ายตาถี่นำมาเย็บเป็นถึง ประมาณ 1 เมตรเพื่อนำมาคุมหน่อไผ่ไว้หลังจากนั้นก็จับพ่อแม่พันธุ์ใส่เข้าไปในถุงที่เตรียมไว้ก่อนจะตรวจเช็ครอยรั่วเพื่อไม่ให้พ่อแม่พันธุ์ที่เตรียมไว้หลบหนีออกมาได้
ระหว่างนั้นพ่อแม่พันธุ์จะผสมพันธุ์กันและวางไข่ที่โคนไผ่ โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ10 ถึง 30 วัน หลังจากนั้นไข่ก็จะฝักเป็นตัวหนอนและเจาะรูเข้าไปอยู่ในหน่อไผ่ พร้อมกับกัดกินเยื่อไผ่เป็นอาหารหลังจากที่หนอนเยื่อไผ่เจาะเข้าไปแล้วประมาณ 2 เดือนก็สามารถจับหนอนเยื่อไผ่ออกขายได้ ซึ่งระยะเวลา 2 เดือนเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการจับหนอนเยื่อไผ่เนื่องจากถ้าจับเร็วเกินไปขนาดตัวหนอนเยื่อไผ่จะมีขนาดเล็ก
เมนูอาหารที่นำหนอนเยื่อไผ่มาทำ
ในปัจจุบันคุณกฤษณา ได้พัฒนาต่อยอดและวิจัยให้หนอนเยื่อไผ่สามารถที่จะเลี้ยงในระบบฟาร์มแบบแมลงชนิดอื่น ๆได้ และลดขั้นตอนในการเลี้ยงไม่ให้ยุ่งยากเหมือนกับการเลี้ยงในธรรมชาติ ผู้ที่สนใจจะติดต่อและขอข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่งานวิจัยแมลงป่าไม้ กลุ่มงานแมลงและจุลชีววิทยาป่าไม้ กรมป่าไม้ โทร. 0-2561 4292-3 ต่อ 5475ได้ในเวลาราชการ